• 12 ธันวาคม 2024
  • Thailand

เศรษฐกิจไทยหลังเปิดประเทศ คึกคัก อัตราเงินเฟ้อสูงในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมาเหตุมีการจับจ่ายสินค้ามากขึ้น นักท่องเที่ยวโซนยุโรปเที่ยวต่อเนื่อง คาดทั้งปีนักท่องเที่ยวแตะ 2 แสนคน

เศรษฐกิจไทยหลังเปิดประเทศ  คึกคัก อัตราเงินเฟ้อสูงในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมาเหตุมีการจับจ่ายสินค้ามากขึ้น  นักท่องเที่ยวโซนยุโรปเที่ยวต่อเนื่อง คาดทั้งปีนักท่องเที่ยวแตะ 2 แสนคน

เศรษฐกิจไทยหลังเปิดประเทศ  คึกคัก อัตราเงินเฟ้อสูงในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมาเหตุมีการจับจ่ายสินค้ามากขึ้น
นักท่องเที่ยวโซนยุโรปเที่ยวต่อเนื่อง คาดทั้งปีนักท่องเที่ยวแตะ 2 แสนคน


หลังเปิดประเทศวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา ผู้คนเริ่มออกมาใช้จ่ายกันมากขึ้น เทียบกับช่วงต้นปี 2563 พบว่า ดัชนีชี้วัดการเดินทางไปยังร้านค้าและบริการปรับเพิ่มขึ้น โดยร้านค้าปลีกและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจมีอัตราการขยายตัวประมาณ 7.1% ร้านขายของชำและร้านขายยาขยายตัว 31.7% อย่างไรก็ตาม ยังมีส่วนที่ยังติดลบ คือ สวนสาธารณะ -21.7% และ สถานีขนส่ง -35.7% ซึ่งส่วนของสวนสาธารณะ บางส่วนอาจจะยังไม่มีการเปิด 100% (ข้อมูลจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)

ขณะที่ภาคการท่องเที่ยว มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศประมาณ 50,000 คน (ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค) โดยนักท่องเที่ยว 3 อันดับแรกได้แก่ 1. ประเทศอังกฤษ จำนวนประมาณ 8,000 คน 2. สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ประมาณ 7,500 คน 3. เยอรมันประมาณ 5,600 คน คาดว่าทั้งปีนี้ ยอดนักท่องเที่ยวจะอยู่ที่ประมาณ 200,000 คน จากคาดการณ์เดิม 180,000 คน ขณะที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และรายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เอกชน ติดลบ 3.2% การลงทุนรวม ติดลบ 0.4% ส่วนอุตสาหกรรม ติดลบ 1.4% เพราะการแพร่ระบาดโควิดทำให้อุตสาหกรรมการผลิตหยุดชะงัก รวมถึงกรณีตู้สินค้ามีข้อจำกัด ด้านการก่อสร้างลดลง ติดลบ 4.1% จากการปิดไซต์งานก่อสร้าง

นอกจากนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนพฤศจิกายน 2564 พบว่า เท่ากับ 102.25 เทียบกับเดือนช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือสูงขึ้น 2.71% และสูงสุดในรอบ 7 เดือนนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมา แต่เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2564 สูงขึ้น 0.28% มาจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ ราคาผักสด สูงขึ้น เนื้อสุกร อาหารบริโภคในบ้าน และเครื่องประกอบอาหาร ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุน รวมไปถึงการเปิดประเทศส่งผลต่อการจับจ่ายซื้อสินค้ามากขึ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

สำหรับเงินเฟ้อเฉลี่ย 11 เดือนของปี 2564 (มกราคม-พฤศจิกายน) สูงขึ้น 1.15% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ เงินเฟ้อพื้นฐาน (เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว) สูงขึ้น 0.29% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดว่า เงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2564 จะอยู่ระหว่าง 0.8 – 1.2% ค่ากลางอยู่ที่ 1.0% ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง