• 2 ธันวาคม 2024
  • Thailand

สัญญาณปลายปีนี้สถานการณ์ราคาเหล็กปรับตัวลง หลังจีนชะลอการนำเข้า ไทยเตรียมกระตุ้น นโยบายใช้เหล็กในประเทศก่อน

สัญญาณปลายปีนี้สถานการณ์ราคาเหล็กปรับตัวลง หลังจีนชะลอการนำเข้า ไทยเตรียมกระตุ้น นโยบายใช้เหล็กในประเทศก่อน

สัญญาณปลายปีนี้สถานการณ์ราคาเหล็กปรับตัวลง

หลังจีนชะลอการนำเข้า ไทยเตรียมกระตุ้น นโยบายใช้เหล็กในประเทศก่อน


หลังช่วงกลางปีที่ผ่านมา สมาคมเหล็กในประเทศ ส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์พิจารณาข้อเสนอแนวทางบรรเทาผลกระทบจากราคาสินค้าเหล็ก ถึงนายกฯรัฐมนตรี กรณี เหล็กมีราคาแพงขึ้นเนื่องจาก ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศจีนมีความต้องการใช้เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบ จำนวนมากทำให้ขาดตลาด หลายๆคนกังวลว่า ราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างที่ทำมาจากเหล็กจะมีราคาสูงเช่นกัน ซึ่งสถานการณ์ปลายปีนี้ดูเหมือนว่าแนวโน้มจะดีขึ้น

นายนาวา จันทนสุรคน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สถานการณ์ราคาสินค้าเหล็กในเอเชีย ได้ผ่านราคาสูงสุดมาแล้ว รวมถึงนโยบายการส่งออกสินค้าเหล็กจากจีน ชะลอตัวลง ด้วยการยกเลิกการคืนภาษีส่งออก (Rebate Tax) ซึ่งส่งผลให้สินค้าเหล็กบ่งประเภท เช่น เหล็กรีดแผ่น มีราคาปรับตัวลง

ขณะที่ประเทศไทย ครึ่งปีแรกที่ผ่านมา มีความต้องการใช้เหล็กรวม 10.1 ล้านตัน เติบโต 23.2% จากครึ่งแรกของปี 2563 แต่สถานการณ์โควิด – 19 ที่รุนแรง จนรัฐบาลออกมาตรการหยุดไซต์งานก่อสร้างและปิดแคมป์คนงานชั่วคราว ช่วงปลายเดือน มิ.ย.-ก.ค. ส่งผลให้อุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมเหล็กชะงัก จากนั้นเดือนส.ค. ที่ผ่านมา กลับมาดำเนินงานก่อสร้างตามมาตรการ Bubble and Seal ทำให้ความต้องการใช้เหล็กฟื้นกลับมาอีกครั้ง คาดว่าทั้งปี 2564 จะมีการใช้เหล็กไม่ต่ำกว่า 19 ล้านตัน หรือเติบโตขึ้นอย่างน้อย 15% จากปีที่แล้ว ซึ่งปริมาณถดถอยต่ำสุดเพียง 16.5 ล้านตันเท่านั้น

แม้การขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปี 2564 เติบโตเพียง 0.7-1.2% ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ไว้ แต่การลงทุนภาครัฐ ปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.7% ด้วยงบประมาณลงทุนปี 2564 กว่า 4.2 แสนล้านบาท และไตรมาส1 ปีงบประมาณ 2565 อีก 1.0 แสนล้านบาท รวมทั้ง การบังคับใช้กฎกระทรวง การคลัง ที่ส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่ผลิตในประเทศไม่น้อยกว่า 60% ของพัสดุที่จะใช้ สำหรับงานก่อสร้างกำหนดให้ใช้เหล็กที่ผลิตในประเทศก่อน โดยต้องไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าหรือปริมาณเหล็กที่ใช้ในงานก่อสร้างทั้งหมดมองว่า เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีความต้องการใช้เหล็กมากขึ้นเช่นกัน