• 22 พฤศจิกายน 2024
  • Thailand

รัฐบาล-เอกชน คาดการณ์เศรษฐกิจไทย ไตรมาสแรกปี 64 ฟื้นตัว จาก มาตรการภาครัฐ-ส่งออกยา เครื่องใช้ไฟฟ้า

รัฐบาล-เอกชน คาดการณ์เศรษฐกิจไทย ไตรมาสแรกปี 64 ฟื้นตัว จาก มาตรการภาครัฐ-ส่งออกยา เครื่องใช้ไฟฟ้า

รัฐบาล-เอกชน คาดการณ์เศรษฐกิจไทย ไตรมาสแรกปี 64 ฟื้นตัว จาก มาตรการภาครัฐ-ส่งออกยา เครื่องใช้ไฟฟ้า


ด้วยสภาวะเศรษฐกิจตอนนี้ ทำให้ที่รัฐบาลพยายามออกมาตรการการเงินช่วยเหลือประชาชนในประเทศอย่างต่อเนื่อง แล้วมาตรการเหล่านี้จะช่วยให้เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 2564 จะมีแนวโน้มดีขึ้นหรือไม่

กระทรวงการคลังคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัว 3.6 % การส่งออกจะกลับมาขยายตัว 4.5 % ขณะเดียวกันการบริการมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า เนื่องจากคาดว่าอาจจะเปิดรับนักท่องเที่ยวได้จำกัด ด้านอุปสงค์ในประเทศการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว แต่ยังไม่สูงมาก เพราะระบบการเงินไทยมีความเสี่ยงสูงตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวมากจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ฐานะทางการเงินของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเปราะบาง และมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ หรือหนี้ครัวเรือนสูง รวมถึงรายได้ครัวเรือนที่เปราะบางและไม่แน่นอน จากปริมาณผู้ว่างงาน และเสมือนผู้ว่างงานที่ทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวันอยู่ในระดับสูง และผู้มีงานทำมีรายได้ลดลงจากค่าจ้างและค่าล่วงเวลาที่ลดลง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ออกมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อเชิงรุกของภาครัฐ เช่น โครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจธุรกิจไทยมั่นคง และมาตรการการปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายย่อย โดยการรวมหนี้ บรรเทาความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเช่นกัน

ฟากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ถึงจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่แตกต่างกันมากระหว่างภาคเศรษฐกิจและผู้ประกอบการแต่ละกลุ่ม ภาครัฐจึงควรใช้มาตรการที่ตรงจุด ทันการณ์ และเอื้อให้เกิดการปรับตัวอย่างเหมาะสม รวมทั้งบูรณาการมาตรการให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกันมากขึ้น ซึ่งนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนนโยบายการคลังผ่านต้นทุนการกู้ยืมในตลาดการเงินที่อยู่ในระดับต่ำภายใต้สภาพคล่องในตลาดการเงินที่มีอยู่สูง

ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ มองทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะฟื้นตัวที่ 3.5-4.5% จาก 1.การปรับตัวของการบริโภคและการลงทุนในประเทศในช่วงครึ่งหลังปี 63 และความสามารถในการควบคุมการระบาดของรัฐบาล 2.การขยายตัวของการส่งออก ในกลุ่มสินค้าประเภทยา เวชภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ ถุงมือยาง และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์โควิดและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไป work from home 3.การใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศในปีนี้