• 24 พฤศจิกายน 2024
  • Thailand

เปิดไทม์ไลน์ รถไฟฟ้าเชื่อมกรุงเทพ-ปริมณฑล ประเดิมต้นปีหน้าด้วย รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ และสายสีทอง

เปิดไทม์ไลน์ รถไฟฟ้าเชื่อมกรุงเทพ-ปริมณฑล ประเดิมต้นปีหน้าด้วย รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ และสายสีทอง

เปิดไทม์ไลน์ รถไฟฟ้าเชื่อมกรุงเทพ-ปริมณฑล ประเดิมต้นปีหน้าด้วย รถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ และสายสีทอง


เพราะเชื่อว่าการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าจะช่วยลดปัญหารถติดภายในกรุงเทพมหานครได้ และช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางให้กับประชาชนระหว่างปริมณฑลและกรุงเทพมหานครเช่นกัน ทำให้ช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้รัฐบาลผลักดันเข็นรถไฟฟ้าสายใหม่กว่า 10 สาย ผ่านการอนุมัติครม. พร้อมเร่งก่อสร้าง โดยแต่ละสายต่างทยอยเปิดให้บริการกันบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) หรือสายสีน้ำเงินบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพงบางแค รวมถึงสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง – สมุทรปราการ)

สำหรับปีหน้าจะมีการเปิดบริการเพิ่มอีก 2 สาย คือรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ) ปัจจุบันเปิดให้บริการเดินรถ ถึงสถานีวัดพระศรีมหาธาตุและปลายปีนี้ จะเปิดบริการถึงสถานีคูคต และรถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นรถไฟฟ้าแบบไร้คนขับสายแรก มีล้อและทางวิ่งเป็นยาง ช่วยลดเสียง ฝุ่นและมลพิษ ใช้ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขบวนมีทั้งหมด 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ รองรับผู้โดยสารได้ 4,000 -12,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง ขณะนี้การก่อสร้าง คืบหน้าแล้วกว่า 95% อยู่ระหว่างการทดสอบระบบการเดินรถ โดยคาดว่าเปิดบริการกลางเดือนธ.ค. 2563

ต่อมา รถโมโนเนล 2 สาย ได้แก่สายสีเหลือง (ลาดพร้าว – สำโรง) และสายสีชมพู ( แคราย-มีนบุรี) งานก่อสร้างคืบหน้าไปกว่า 50% คาดว่าจะเปิดบริการ ปี 2565 ขณะเดียวกัน รถไฟฟ้าสายสีแดง (บางชื่อ-รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย จากเดิมที่จะเปิดบริการในปี 2564 แต่ติดปัญหาสถานีกลางบางซื่อล่าช้า การแก้ปัญหาหนี้สิน และการหาเอกชนบริหารจัดการเดินรถ คาดว่าจะเลื่อนไปเปิดบริการในปี 2566
นอกจากนี้ รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก(ศูนย์วัฒนธรรม- มีนบุรี) การก่อสร้างอยู่ที่ 60 % เตรียมเปิดบริการปี 2567 ส่วนสายสีส้มตะวันตก (บางขุนนนท์-มีนบุรี) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างเปิดประมูล งานโยธาและระบบเดินรถ ระยะทาง 35.9กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดบริการปี 2569 ส่วนสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ) อยู่ระหว่างการเวนคืนที่ดิน คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2570

ทั้งนี้ต้องมาลุ้นกันว่า เมื่อรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้วปรพชาชนจะได้รับความสะดวกสบายหรือไม่ แล้วค่าเดินทาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าครองชีพคนกรุงจะเพิ่มมากน้อยแค่ไหน