• 21 พฤศจิกายน 2024
  • Thailand

รัฐเตรียมออกแพกเกจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์การค้าโลก

รัฐเตรียมออกแพกเกจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์การค้าโลก

รัฐเตรียมออกแพกเกจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์การค้าโลก

ดูเหมือนว่าหลังจัดสรรตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีลงตัวแล้ว รัฐบาลก็เร่งประกาศนโยบายด้านเศรษฐกิจทันที ล่าสุดนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจไทยครึ่งปี 2562 ว่าเศรษฐกิจช่วงไตรมาส 3-4 ของปี 2562 ตลาดหุ้นไทยที่ผ่านมาตกลงมาก เพราะกังวลค่าเงินจะผันผวนตามสงครามการค้าและเศรษฐกิจจึงได้มอบหมายให้ รัฐมนตรีประจำกระทรวงเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดเงิน และตลาดทุนติดตามสถานการณ์เพื่อประคองเศรษฐกิจในประเทศอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ยังเตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง ไม่ว่าจะเป็นช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรด้วยการพักชำระหนี้ให้แก่ผู้ที่ประสบภัยแล้ง ผู้สูงอายุ  มีทั้งแบบเติมเงินและต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี, ลดค่าใช้จ่าย ลดค่าครองชีพตรึงราคาแก๊ส E20, ออกมาตรการอัดฉีดเงินก้อนใหม่ผ่านรูปแบบกองทุนและกำหนดเงื่อนไขการกู้สินเชื่อใหม่แก่ผู้ประกอบการ SMEs, เสนอ ครม.ขออนุมัติงบฯกลาง 16,000-17,000 ล้านบาทช่วยเหลือเกษตรกรนอกจากนี้ยังกระตุ้นการท่องเที่ยวด้วยการหักลดหย่อนภาษีสำหรับการใช้จ่ายเพื่อกิน-ช็อป-เที่ยวให้ร้านค้าชุมชน พร้อมแจกเงินท่องเที่ยว 1,500 ล้านบาท

ขณะที่รายงานฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดช่วง 9 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2562 (ตุลาคม 2561 -มิถุนายน 2562) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังจำนวน 1,943,545 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ(ปีปัจจุบันและปีก่อน) จำนวน 2,355,488 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 411,943 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล จำนวน 25,096 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลจำนวน 437,039 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลังเดือนมิถุนายน มีจำนวน 497,375 ล้านบาท

ส่วนดุลการคลังของรัฐบาลตามระบบ สศค. ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลมีรายได้จำนวน 2,120,967 ล้านบาท และมีรายจ่ายจำนวน 2,4725,604 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 351,637 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลของกองทุนนอกงบประมาณที่เกินดุล จำนวน 187,993 ล้านบาท และรายจ่ายเงินกู้โครงการเพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน และรายจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) จำนวน 1,559 และ 216 ล้านบาท ตามลำดับ ทำให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุลจำนวน 24,995 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าเงินคลังของรัฐบาล 9 เดือนที่ผ่านมายังคงขาดดุลอยู่ หากรัฐนำเงินในคลังมากระตุ้นเศรษฐกิจใน 2 โค้งสุดท้ายของปี จะช่วยให้ภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศดีขึ้นหรือไม่ เพราะทุกวันนี้รายได้ของประเทศยังพึ่งการส่งออกเป็นหลัก